“ผู้ใหญ่”  กับเพื่อนๆ B.C.C  รุ่น 103 ที่มี คุณพีระวัฒน์ฯ ที่คุณพ่อเป็นนักเรียนทุนกองทัพเรือไปเรียนที่ประเทศ เยอรมัน ถามกันว่าที่เมืองไทยเรานี่มีสิ่งก่อสร้างสไตร์ เยอรมัน บ้างใหม? เพราะมีเจ้านายไทยของเราก็เคยไปเรียนหรือไปเยือนเยอรมันกันมากพอควร น่าที่จะนำแบบมาสร้างที่เมืองไทยกันบ้าง

“ผู้ใหญ่”  ค้นหาข้อมูลจากที่ต่างๆก็พบว่าที่ จังหวัดเพชรบุรี  มีสถานที่หนึ่งแห่งก่อสร้างสไตร์ เยอรมัน นั่นคือ  พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน เพื่อนๆจึงรวมพลกันไปเที่ยวชมกันเลยโดยมี คุณเปรมนีย์ ทรัพย์โชคไชย หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรยุรี พาไปครับและได้นำรูปมาฝากชม แต่ขอโทษด้วยเขาห้ามถ่ายรูปภายในพระราชวังฯครับ

 มี            

 “พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน  เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายคาร์ล ดอห์ริงสถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ(พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า

นายดอห์ริงได้เลือกผู้ร่วมงานทั้งสถาปนิกวิศวกร และมัณฑนากรเป็นชาวเยอรมันทั้งสิ้น เพื่อการทำงานให้มีศิลปะเป็นแบบเดียวกันพระที่นั่งองค์นี้จึงมีรูปแบบศิลปะตะวันตกอย่างเต็มตัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่ต้องการพระตำหนักแบบโมเดิร์นสไตล์ สถาปนิกจึงได้ออกแบบมาในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน โดยได้แบบแผนมาจากตำหนักในพระราชวังของพระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมันที่ทรงเคยประทับ

พระตำหนักได้ใช้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบบาโรค(Baroque) และแบบอาร์ต นูโว(Art Nouveau) หรือที่เยอรมันเรียกว่าจุงเกนสติล(Jugendstil)ตัวพระตำหนักจะเน้นความทันสมัยโดยจะไม่มีลายปูนปั้นวิจิตรพิศดารเหมือนอาคารในสมัยเดียวกัน พระตำหนักหลังนี้จะเน้นในเรื่องของความสูงของหน้าต่าง ความสูงของเพดานซึ่งกว้างเป็นพิเศษ ทำให้พระตำหนักดูใหญ่โต โอ่อ่า สง่างาม และตระการตา

พระตำหนักหลังนี้ยังมีสิ่งที่น่าชมอีกมาก กล่าวคือ การตกแต่งภายในแต่ละห้องให้มีรูปลักษณ์แตกต่าง กันไปทั้งสีสันและวัสดุที่ใช้ เช่น บริเวณโถงบันไดใช้โทนสีเขียว ห้อง เสวยใช้โทนสีเหลือง ตกแต่งช่องประตูด้วยเหล็กดัดแบบอาร์ต นูโว และประดับผนังด้วยแผ่นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองสด ตัดกรอบด้วยกระเบื้องเขียวเป็นช่อง ๆ ตามแนวยืน โดยกระเบื้องประดับผนังมีลวด ลายนูนเป็นรูปสัตว์และพรรณพืชต่าง ๆ แทรกอยู่เป็นระยะ ๆ ห้องพระบรรทมใช้โทนสีทอง โดยตกแต่งเสาในห้องด้วยแผ่นโลหะสีทองขัดเงาดุนลาย หัวเสาเป็นภาพเขียนแจกันดอกไม้หลากสี บนพื้นครึ่งวงกลมสีทอง ดูสง่างามและมลังเมลือง”

เมื่อพอรู้เรื่องราวบ้างแล้ว “ผู้ใหญ่”   แนะนำให้ไปเที่ยวชมครับ ที่นั่นมีนักเรียนภาควิชามัคคุเทศน์มาอธิบายให้รู้ประวัติด้วยครับ

ข้อมูลนำมาจาก  :  พระรามราชนิเวศน์ -วิกิพีเดีย

 

 

 

Tags: ,

ใส่ความเห็น